ยุทธศาสตร์และแนวทางในการดำเนินงานของ “ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน” ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การขยายและพัฒนาศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน ให้สามารถดำเนินการได้ตามบทบาทภาระกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการขยายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน ให้ครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัด และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มเติมความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานศูนย์ประสานงานฯ อย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างการมีส่วนร่วมและเชื่อมโยงการดำเนินงานของเครือข่ายองค์กรประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ให้บริการ และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ทุกระดับโดยการสร้างการมีส่วนร่วมและเชื่อมโยงการดำเนินงานของทุกภาคีในระดับจังหวัด ภูมิภาค และระดับประเทศ การขยายการมีส่วนร่วมของเครือข่ายองค์กรประชาชนให้ครอบคลุมทั้ง 9 ด้าน ตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพบริการในระดับพื้นที่และประเทศการพัฒนาชุดข้อเสนอ เพื่อให้ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน เป็นกลไกตาม พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 50(5)
ยุทธศาสตร์ที่4 การมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการเตรียมความพร้อมของกลไกภาคประชาชน ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คณะกรรมกการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการ และคณะกรรมการอนุกรรมการระดับจังหวัด ในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การยกระดับองค์ความรู้ของภาคประชาชนในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพเป็นการพัฒนาศักยภาพให้เกิดองค์ความรู้ กรณีศึกษาการดำเนินงานศูนย์ประสานงานฯ และยกระดับการดำเนินงานภาคประชาชน ในการสรุปบทเรียนเพื่อถอดองค์ความรู้ นำไปสู่บทเรียนชุดความรู้ของศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การขยายและพัฒนาศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน ให้สามารถดำเนินการได้ตามบทบาทภาระกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการขยายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน ให้ครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัด และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มเติมความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานศูนย์ประสานงานฯ อย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างการมีส่วนร่วมและเชื่อมโยงการดำเนินงานของเครือข่ายองค์กรประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ให้บริการ และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ทุกระดับโดยการสร้างการมีส่วนร่วมและเชื่อมโยงการดำเนินงานของทุกภาคีในระดับจังหวัด ภูมิภาค และระดับประเทศ การขยายการมีส่วนร่วมของเครือข่ายองค์กรประชาชนให้ครอบคลุมทั้ง 9 ด้าน ตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพบริการในระดับพื้นที่และประเทศการพัฒนาชุดข้อเสนอ เพื่อให้ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน เป็นกลไกตาม พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 50(5)
ยุทธศาสตร์ที่4 การมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการเตรียมความพร้อมของกลไกภาคประชาชน ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คณะกรรมกการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการ และคณะกรรมการอนุกรรมการระดับจังหวัด ในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การยกระดับองค์ความรู้ของภาคประชาชนในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพเป็นการพัฒนาศักยภาพให้เกิดองค์ความรู้ กรณีศึกษาการดำเนินงานศูนย์ประสานงานฯ และยกระดับการดำเนินงานภาคประชาชน ในการสรุปบทเรียนเพื่อถอดองค์ความรู้ นำไปสู่บทเรียนชุดความรู้ของศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน